วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การ์ดแสดงผล

Display Card (การ์ดแสดงผล)

          หลัก การทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ซีพียูเมื่อซีพียู ประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้นการ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจรในการเร่งความเร็ว การแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร

หน่วยความจำ
          การ์ด แสดงผลจะต้องมีหน่วยความจำที่เพียงพอในการใช้งานเพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูล ที่ได้รับมาจากซีพียู และสำหรับการ์ดแสดงผลบางรุ่น ก็สามารถประมวลผลได้ภายในตัวการ์ดโดยทำหน้าที่ในการประมวลผลภาพแทนซีพียูไป เลยช่วยให้ซีพียูมีเวลาว่างมากขึ้นทำงานได้เร็วขึ้น

          เมื่อ ได้รับข้อมูลจากซีพียูมาแล้ว การ์ดแสดงผลก็จะเก็บข้อมูลที่ได้รับมาไว้ในหน่วยความจำส่วนนี้นี่เอง ถ้าการ์ดแสดงผลมีหน่วยความจำมากๆ ก็จะรับข้อมูลมาจากซีพียูได้มากขึ้น ช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพ มีความเร็วสูงขึ้น และหน่วยความจำที่มีความเร็วสูงก็ยิ่งดี เพราะจะมารถรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นยิ่งถ้าข้อมูลที่มาจากซีพียูมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งต้องใช้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ๆ เพื่อรองรับการทำงานได้โดยไม่เสียเวลา ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ๆ นั่นก็คือข้อมูลของภาพที่มีสีและความละเอียดของภาพสูงๆ

ความละเอียดในการแสดงผล
          การ์ด แสดงผลที่ดีจะต้องมีความสามารถในการแสดงผลในความละเอียดสูงๆ ได้เป็นอย่างดี ความละเอียดในการ แสดงผลหรือ Resolution ก็คือจำนวนของจุดหรือพิเซล (Pixel) ที่การ์ดสามารถนำไป แสดงบนจอภาพได้ จำนวนจุดยิ่งมากก็ทำให้ภาพที่ได้มีความคมชัดขึ้นส่วนความละเอียดของสีก็คือ ความสามารถในการแสดงสีได้ในหนึ่งจุด จุดที่พูดถึงนี้ก็คือจุดที่ใช้ในการแสดงผลในหน้าจอ เช่น โหมดความละเอียด 640x480 พิกเซล ก็จะมีจุดเรียงตามแนวนอน 640 จุด และจุดเรียงตามแนวตั้ง 480 จุด

          โหมด ความละเอียดที่เป็นมาตราฐานในการใช้งานปกติก็คือ 640x480 แต่การ์ดแสดงผลส่วนใหญ่ สามารถที่จะแสดง ผลได้หลายๆ โหมด เช่น 800x600, 1024x768 และการ์ดที่มีประสิทธิภาพสูงก็จะ สามารถแสดงผลในความละเอียด 1280x1024 ส่วนความละเอียดสก็มี 16 สี, 256 สี, 65,535 สี และ 16 ล้านสีหรือมักจะเรียกกันว่า True Color

อัตราการรีเฟรชหน้าจอ
          การ์ด แสดงผลที่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีอัตราการรีเฟรชหน้าจอได้หลายๆ อัตรา อัตราการรีเฟรชก็คือ จำนวนครั้งในการกวาดหน้าจอใหม่ในหนึ่งวินาทีถ้าหากว่าอัตรารีเฟรชต่ำจะทำให้ ภาพบนหน้าจอมีการกระพริบ ทำให้ผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์เกิดอาการล้าของกล้ามเนื้อตาและอาจทำให้เกิด อันตรายกับดวงตาได้

          อัตราการรีเฟรชในปัจจุบันอยู่ที่ 72 เฮิรตซ์ ถ้าใช้จอภาพขนาดใหญ่อัตรารีเฟรชยิ่งต้องเพิ่มมากขึ้นอัตรา
รีเฟรชยิ่งมากก็ยิ่งดี

ปัญหาและการแก้ปัญหาที่เกิดจาก
 Display Card



VGA-AGP
VGA-PCI
- ปัญหา เคลื่อนย้ายเครื่องแล้วเปิดเครื่องได้ยินเสียงทำงาน แต่หน้าจอไม่มีภาพ

สาเหตุ
          การ์ดจอแบบ AGP จะมีสล็อตสำหรับใส่ที่พอดีหรือตึงมากเราติดตั้งการ์ดเข้ากับสล็อตจะต้องดันให้สุดและขันน็อตเข้ากับตัวเคส ซึ่งในช่วงนี้

วิธีการแก้ปัญหา
          ให้เปิดฝาเครื่องออกมาตรวจดูหากพบว่าตัวการ์ดหลวมหลุดให้ดันการ์ดกลับเข้าไปในสล็อตให้แน่นเหมือนเดิม โดยไม่ต้องคลายน็อต (เพราะจะกระดกหลุดออกมาอีก) หากพบว่าหลายวงจรที่ขาการ์ดสกปรกให้ถอด 
ออกมาแล้วใช้ยางลบดินสอทำความสะอาดแล้งจึงใส่กลับเข้าไปใหม่ ก็คงจะใช้การได้เหมือนเดิม

- ปัญหา เล่นเกมบางทีภาพกระตุก แฮงค์ค้าง


สาเหตุ
          ปัญหานี้เกิดได้หลายสาเหตุเช่น อาจเป็นเพราะการ์ดจอที่ใช้อยู่มีประสิทธิภาพไม่ดีพอไม่สามารถเล่นเกมที่ใช้กำลังเครื่องมากได้ บางครั้งอาจเกิดจากพัดลมระบายความร้อนบนชิปกราฟิคสกปรกทำให้ หมุนช้าลง หรือไม่หมุนเลยส่วนสาเหตุที่แย่ที่สุดคือ ชิปกราฟิคมีปัญหาหรือเสียซึ่งคงต้องเปลี่ยนการ์ดจอใหม่เลย

วิธีการแก้ปัญหา
          1.เปิด ฝาเครื่องออกและลองเปิดเครื่องตรวจดูว่าพัดลมระบายความร้อนของชิปกราฟิคหมุน หรือไม่ หากไม่หมุนต้องดูว่าพัดลมสกปรกมีคราบฝุ่นละอองเกาะติดอยู่หรือไม่ ให้ใช้ยาสเปรย์ฉีดพร้อมกับใช้ไม้สำลีเช็ดให้สะอาด
          2.หากพบว่าพัดลมระบายความร้อนชิปกราฟิคเสีย ให้ซื้อมาเปลี่ยนใหม่ หลังจากเปลี่ยนพัดลมตัวใหม่ก็คงเล่นเกมได้มันสะใจขึ้น

ปัญหา การ์ดจอ Onpoard เสีย
          ปัญหานี้จะแสดงอาการออกมาในลักษณะเปิดเครื่องได้เห็นไฟเข้าเครื่องทำงานปกติแต่หน้าจอจะไม่มีภาพอะไรเลย ผู้ใช้หลายคนนึกว่าเมนบอร์ดเสีย จึงไปหาซื้อเมนบอร์ดมาเปลี่ยนใหม่ทำให้เสียเงินไปโดยใช่เหตุ
สาเหตุ
          ปัญหานี้สาเหตุเป็นเพราะระบบแสดงผลของชิปเซ็ตบนเมนบอร์ดเสีย ทำให้ไม่มีภาพปรากฎบนหน้าจอ
วิธีการแก้ปัญหา
          ในการแก้ไขปัญหาก็ให้ทำการจัมเปอร์บนเมนบอร์ดเป็น Disable หรือกำหนดค่าในไบออสให้เป็น Disable ขึ้นอยู่กับรุ่นของเมนบอร์ด แล้วนำการ์ดจอมาติดตั้งลงในสล็อต AGP แทน หากเป็นรุ่นไม่มี สล็อต AGP ก็คงต้องหาซื้อการ์ด PCI มาติดตั้งแทนเมนบอร์ดบางรุ่นอาจจะพบและทำงานกับการ์ดจอที่ติดตั้งเข้าไปโดยไม่ต้อง Disable ในจัมเปอร์หรือไบออสแต่อย่างใด สำหรับขั้นตอนการยกเลิกใช้งานการ์ดจอ Onboard โดยการกำหนดจัมเปอร์มีขั้นตอนดังนี้
          1. เปิดฝาเครื่องออกให้สังเกตจัมเปอร์บนเมนบอร์ดที่มีตัวอักษรกำกับว่า VGA หรือให้ดูจากคู่มือเมนบอร์ด
          2. เมื่อพบแล้วให้เปลี่ยนจัมเปอร์ ซึ่งอาจเป็นการถอดออกหรือเปลี่ยนขา จากขา 1,2 เป็น 2,3 อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
          3. ให้ติดตั้งการ์ดจอใหม่ลงเครื่อง ปิดฝาและเปิดเครื่อง หลังจากนั้นให้ลงไดรเวอร์ให้เรียบร้อยก็ใช้งานได้

การติดตั้งการ์ดจอ
          1. ก่อนที่จะทำการใดๆ ให้คุณกราวน์ตัวเองก่อน โดยการเอามือไปแตะที่ตัวเคส
          2. พยายามนำเอาสายไฟที่กีดขวางอยู่ออกไปทางด้านข้าง ถ้าไม่จำเป็นอย่าถอดออกมา เพราะคุณอาจจะลืมไปว่า คุณถอด ออกมาจากที่ใด
          3. ให้ตรวจดูสล็อตสำหรับติดตั้งการ์ดจอโดยการ์ดรุ่นใหม่ จะใช้สล็อต AGP กันหมดแล้ว จุดสังเกตคือ เป็นสล็อตสี น้ำตาลเข้มที่อยู่ด้านบนใกล้กับซีพียู (ถ้าเป็นสล๊อต PCI จะเป็นสีขาว)
          4. ใน การจับการ์ดให้คุณจับในบริเวณที่เป็นพลาสติก ห้ามจับในบริเวณที่เป็นแถบทองแดงด้านล่างของการ์ด เพราะฝุ่นผง ที่มือคุณอาจจะไปทำให้ทางเดินไฟฟ้าสะดุดได้
          5. เสียบตัวการ์ดลงไปตรงๆ
          6. ค่อยๆ กดตัวการ์ดลงไปเบาๆ ถ้ากดแล้วไม่ลงอย่าพยายามฝืน ให้ถอดออกแล้วเสียบลงไปใหม่
          7. ใช้ไขควงขันน็อตให้เรียบร้อย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น